ตัวเคลื่อนไหว

JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด H1 N1

ไข้หวัดใหญ่
สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1
Influenza A (H1N1)

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ เอ เอช1เอ็น1 เป็นโรคที่แพร่ติดต่อระหว่างคนสู่คน เริ่มพบที่ประเทศเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา ต่อมาได้แพร่ออกไปยังอีกหลายประเทศ

เชื้อสาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 (A/H1N1) ซึ่งเป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ตัวใหม่ ที่ไม่เคยพบมาก่อน เกิดจากการผสมสารพันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่ของคน สุกร และนก

การแพร่ติดต่อ
เชื้อไวรัสที่อยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย แพร่ติดต่อไปยังคนอื่น ๆ โดยการไอจามรดกันโดยตรง หรือหายใจเอาฝอยละอองเข้าไป หากอยู่ใกล้ผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร บางรายได้รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น แก้วน้ำ ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ผ้าเช็ดมือ เป็นต้น เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูก ตา ปาก
ผู้ป่วยอาจเริ่มแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1 วันก่อนป่วย ช่วง 3 วันแรกจะแพร่เชื้อได้มากสุด และระยะแพร่เชื้อมักไม่เกิน 7 วัน

อาการป่วย
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการหลังจากได้รับเชื้อไวรัส 1 – 3 วัน น้อยรายที่นานถึง 7 วัน อาการป่วยใกล้เคียงกันกับโรคไข้หวัดใหญ่ที่เกิดขึ้นทั่วไป เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไอ เจ็บคอ อาจมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสียด้วย
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง หายป่วยได้โดยไม่ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล อาการจะทุเลาและหายป่วยภายใน 5 – 7 วัน แต่บางรายที่มีอาการปอดอักเสบ รุนแรง จะพบอาการหายใจเร็ว เหนื่อย หอบ หายใจลำบาก ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้

การรักษา
ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที ซึ่งแพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านไวรัส คือ ยาโอลเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) เป็นยาชนิดกิน หากผู้ป่วยได้รับยาภายใน 2 วันหลังเริ่มป่วย จะให้ผลการรักษาดี
ผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย เช่น มีไข้ต่ำ ๆ และยังรับประทานอาหารได้ อาจไปพบแพทย์ที่คลินิก หรือขอรับยาและคำแนะนำจากเภสัชกรใกล้บ้าน และดูแลรักษากันเองที่บ้าน โดย
- รับประทานยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้พาราเซตามอล ยาละลายเสมหะ เป็นต้น และเช็ดตัวลดไข้เป็นระยะด้วยน้ำสะอาดไม่เย็น
- ดื่มน้ำสะอาดและน้ำผลไม้มาก ๆ งดดื่มน้ำเย็น
- พยายามรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ได้มากพอเพียง เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก ผลไม้ เป็นต้น หากรับประทานอาหารได้น้อย อาจต้องได้รับวิตามินเสริม
- นอนหลับพักผ่อนมาก ๆ ในห้องที่อากาศถ่ายเทดี
- ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ยกเว้นติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ซึ่งต้องรับประทานยาจนหมดตามแพทย์สั่ง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อดื้อยา

การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ
- หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
- หากต้องดูแลผู้ป่วย ควรสวมหน้ากากอนามัย เมื่อดูแลเสร็จ ควรรีบล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดทันที
- ไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
- ใช้ช้อนกลางทุกครั้ง เมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
- หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังไอ จาม
- รักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมทั้งไข่ นม ผัก และผลไม้ ดื่มน้ำสะอาดและนอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงบุหรี่และสุรา

การป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อ
- หากป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ควรลาหยุดงาน หยุดเรียน เป็นเวลา 3 - 7 วัน ซึ่งจะช่วยลดการแพร่ระบาดได้มาก
- พยายามหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดคลุกคลีกับคนอื่น ๆ
- สวมหน้ากากอนามัย เมื่ออยู่กับผู้อื่น หรือใช้ทิชชูปิดจมูกปากทุกครั้งที่ไอจาม ทิ้งทิชชูลงในถังขยะที่มีฝาปิด แล้วล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่
ใส่ใจ ห่วงใยคนรอบข้างสวมหน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อย ๆ

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การทำสบู่

การทำสบู่สมุนไพร [No. 0]
(ลองนำ สบู่ก้อนธรรมชาติ สบู่เกิดจากการทำปฏิกิริยาของไขมัน ด่าง และน้ำที่อุณหภูมิพอเหมาะ ผู้ผลิตต้องศึกษาคุณสมบัติของส่วนประกอบแต่ละชนิดก่อนเริ่มตั้งสูตร และลงมือผลิต นอกจากนี้ ผู้ผลิตยังสามารถเติมส่วนผสมเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มคุณภาพของสบู่ เช่น น้ำนมแพะ น้ำนมวัว หรือสมุนไพร เป็นต้น




ส่วนประกอบหลัก



1. ไขมันหรือน้ำมัน ไขมันหรือน้ำมัน ทั้งจากสัตว์และจากพืชหลากหลายชนิด สามารถนำมาเป็นส่วนผสมในการผลิตสบู่ได้ กรดไขมันนี้จะรวมตัวกับสารอื่น อยู่ในรูปของกลีเซอไรด์ เมื่อนำด่างเข้ามาผสมและทำปฏิกิริยากับกรดไขมันจะหลุดออกจากกลีเซอไรด์ มารวมตัวกันเป็นสบู่ สารที่เกาะอยู่กับกรดไขมันก็จะออกมาเป็นกลีเซอรีน น้ำมันแต่ละชนิดก็จะให้สบู่ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป กรดไขมันแต่ละชนิดเมื่อรวมตัวกับด่างแล้ว จะให้สบู่ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน เช่น กรดลอริก (lauric acid) มีมากในน้ำมันมะพร้าว เป็นกรดไขมันที่ทำปฏิกิริยากับด่างแล้วให้สารที่มีฟองมาก เป็นต้น ดังนั้นจึงควรศึกษาคุณสมบัติของสบู่ที่ได้จากไขมันต่างชนิดกัน ดังนี้ ตาราง คุณสมบัติ – อายุการใช้งานของน้ำมันแต่ละชนิด ชื่อน้ำมัน คุณสมบัติ อายุการใช้งาน น้ำมันมะกอก สบู่ที่ได้จะเป็นก้อนแข็ง มีฟองครีมนุ่มนวล มีคุณค่าในการบำรุงผิวมาก มากกว่าสามเดือน น้ำมันงา สบู่ที่ได้จะนิ่ม มีค่าการชำระล้างปากกลาง แต่มีวิตามินอีสูงมาก แต่อาจมีกลิ่นที่บางคนไม่ชอบ มากกว่าสามเดือน น้ำมันมะพร้าว สบู่ที่ได้จะมีก้อนแข็ง มีฟองครีมนุ่มนวลจำนวนมาก แต่ไม่ควรใช้เกิน 30% เพราะมีค่าการชำระล้างสูง อาจทำให้ผิวแห้ง มากกว่าสามเดือน น้ำมันรำข้าว สบู่ที่ได้จะนิ่ม ค่าการชำระล้างปานกลาง แต่มีวิตามินอีมาก เหมาะสำหรับบำรุงผิว มากกว่าสามเดือน น้ำมันถั่วเหลือง สบู่ที่ได้จะนิ่ม ค่าการชำระล้างปานกลาง แต่มีวิตามินอีมาก มีคุณสมบัติช่วยให้ผิวยืดหยุ่นได้ดี เป็นน้ำมันอายุสั้น ทำสบู่แล้วควรใช้ให้หมดภายในสามเดือน น้ำมันเมล็ดทานตะวัน สบู่ที่ได้จะนิ่ม ค่าการชำระล้างปานกลาง มีวิตามินอีมาก เป็นน้ำมันอายุสั้น ทำสบู่แล้วควรใช้ให้หมดภายในสามเดือน น้ำมันปาล์ม สบู่ที่ได้จะเป็นก้อนแข็ง มีฟองปานกลาง ค่าการชำระล้างสูง ควรใช้ไม่เกิน 30% เพราะอาจทำให้ผิวแห้ง มากกว่าหกเดือน ไขมันวัว สบู่ที่ได้จะเป็นก้อนแข็ง มีฟองปานกลาง ค่าการชำระล้างสูง เหมาะสำหรับผสมทำสบู่สำหรับซักล้าง มากกว่าหกเดือน ไขมันหมู สบู่ที่ได้จะมีสีขาวและนิ่ม มีฟองน้อย ค่าการชำระล้างปานกลาง มีคุณสมบัติในการบำรุงผิว มากกว่าสามเดือน





2. ด่าง ชนิดของด่างที่ใช้ มี 2 ชนิด - โซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือโซดาไฟ (Sodium hydroxide) ใช้สำหรับทำสบู่ก้อน - โปแตสเซียม ไฮดรอกไซด์ (Potassium hydroxide) ใช้สำหรับทำสบู่เหลว จากตาราง แสดงปริมาณด่างที่ใช้ต่อไขมัน 100 กรัม ภายหลังทำปฏิกิริยาจะมีไขมันเหลือประมาณร้อยละ 5 - 8 อย่างไรก็ดี อาจมีความผิดพลาดเนื่องจากการใช้มาตราชั่ง ตวง วัด และปัจจัยการผลิตอื่น ๆ หรือวิธีการผลิตอื่น ที่ทำให้ปริมาณด่างเหลือมากกว่าที่คำนวณไว้ จึงจำเป็นต้องควบคุมคุณภาพ โดยการวัด pH ทุกครั้งที่ผลิตและหลังจากสบู่แข็งตัวแล้ว ตาราง ปริมาณด่างที่ทำปฏิกิริยากับไขมัน จำนวน 100 กรัม สบู่ที่ได้มีไขมันประมาณ 5 – 8 % ที่ ชื่อน้ำมัน โซดาไฟ (กรัม) โปตัสเซียม ไฮดรอกไซด์ (กรัม) 1 ปาล์ม 13.06 18.32 2 มะพร้าว 16.92 23.74 3 ละหุ่ง 11.83 16.59 4 มะกอก 12.46 17.48 5 งา 12.66 17.76 6 ถั่วเหลือง 12.46 17.48 7 รำข้าว 12.33 17.30 8 เมล็ดทานตะวัน 12.56 17.62 9 ขี้ผึ้ง 6.17 10 ไขมันวัว 12.92 18.12 11 ไขมันหมู 12.76 17.90 12 ไขมันแพะ 12.72 17.85





3. น้ำ น้ำที่ใช้ทำสบู่ได้ต้องเป็นน้ำอ่อน ถ้าเป็นนำกระด้างจะทำให้สบู่ไม่เกิดฟอง น้ำที่เหมาะในการทำสบู่มากที่สุดคือน้ำฝน ปริมาณน้ำที่ใช้ในการทำปฏิกิริยาเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะหากใช้น้ำมากต้องทิ้งไว้หลายวัน สบู่จึงจะแข็งตัว น้ำน้อยเกินไปอาจทำให้ปฏิกิริยาไม่สมบูรณ์ หากใช้ไขมันแต่ละชนิดรวมกันแล้ว 100 กรัม ควรให้น้ำประมาณ 35-38 เปอร์เซ็นต์ หรือเพิ่มตามสัดส่วน





4. ส่วนผสมเพิ่มเติมในสบู่ - บอแร็กซ์ ...สารบอแร็กซ์นี้ไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้ ...แต่สารนี้ช่วยให้สบู่มีสีสันสวยงามและทำให้เกิดฟองมาก... มีจำหน่ายตามร้านขายยาหรือร้านขายของชำ มีชื่อเรียกว่า ผงกรอบ หรือผงนิ่ม ส่วนใหญ่บรรจุในถุงพลาสติก - น้ำหอม.น้ำหอมก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้เช่นกัน แต่ถ้าใช้จะทำให้สบู่มีกลิ่นดีขึ้น ถ้าไขมันที่ทำสบู่นั้นเหม็นอับใช้น้ำมะนาวหรือน้ำมะกรูดผสมจะช่วยให้กลิ่นหอมยิ่งขึ้นและไม่เน่า - สารกันหืน การผลิตสบู่ไว้ใช้เอง ซึ่งใช้หมดในระยะเวลาสั้น จำเป็นต้องใส่สารกันหืนเมื่อต้องการเก็บไว้เป็นเวลานาน - สมุนไพร ใช้เพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ต่อผิวหนังตามคุณสมบัติของสมุนไพรนั้นๆ





วิธีการเติมสมุนไพรลงในสบู่ มี 2 วิธี คือ



o เติมในระหว่างกระบวนการทำสบู่ วิธีการนี้ ผู้ผลิตควรเติมสมุนไพรหลังจากกวนส่วนผสมของสบู่เสร็จเรียบร้อยแล้ว การเติมควรเติมสมุนไพรก่อนเทสบู่ลงแบบ เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับสมุนไพรประเภทสกัดเป็นผงแอลกอฮอล์ และสกัดด้วยน้ำมัน



o ทำสบู่พื้นฐานขึ้นมาก่อน แล้วนำมาหลอมใหม่ หลังจากนั้นจึงเติมสมุนไพรลงไป วิธีนี้เรียกว่า "การทำสบู่สองขั้นตอน" เหมาะสำหรับสมุนไพรที่สกัดด้วยการคั้นหรือการต้ม สัดส่วนการเติมสมุนไพรลงในสบู่



o สมุนไพรผง ควรเติมในปริมาณ 1-5% ของน้ำหนักสบู่



o สมุนไพรที่สกัดด้วยน้ำต้มหรือน้ำคั้น ควรเติมในปริมาณ 10% ของน้ำหนักสบู่ และต้องลดในส่วนของน้ำที่ใช้ละลายด่างออกในปริมาณที่เท่ากัน



o สมุนไพรที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์ ควรเติมได้ไม่เกิน 10% ของน้ำหนักสบู่ และหักลดในส่วนของน้ำที่ใช้ละลายด่างในปริมาณที่เท่ากัน เช่นเดียวกันกับสมุนไพรที่สกัดด้วยน้ำมัน - สารเพิ่มคุณภาพสบู่ ส่วนใหญ่เติมเพื่อให้ความชุ่มชื้น นั้นก็คือกลีเซอรีน ซึ่งในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จะแยกเกล็ดสบู่และกลีเซอรีนไว้ ในกรณีนี้ผู้ผลิตสบู่เอง ไม่จำเป็นต้องเติม กลีเซอรีน เพราะมีอยู่แล้วในสบู่ แต่หากต้องการคุณสมบัติเพิ่มขึ้น ก็อาจเติมได้ 5-10% เครื่องมืออุปกรณ์ในการผลิต อาจใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ได้ทุกชิ้น ยกเว้นในขั้นตอนที่จะต้องสัมผัสกับโซดาไฟ ทุกขั้นตอนภาชนะที่ใช้ต้องหลีกเลี่ยงชนิดที่เป็นโลหะ หรืออลูมิเนียมเพราะอาจเกิดการกัดกร่อนเสียหายทั้งภาชนะและคุณสมบัติบางประการของสบู่ ควรจะใช้ประเภทหม้อเคลือบสแตนเลสหรือแก้วทนไฟแทน



ซึ่งอุปกรณ์ที่จำเป็นแยกได้ดังนี้



1. หม้อสแตนเลส 2 ใบ (ไว้สำหรับตุ๋นน้ำมัน)



2. เทอร์โมมิเตอร์ 2 อัน (อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส)



3. ไม้พาย 1 อัน



4. ทัพพี 1 อัน (สำหรับตักสบู่)



5. ถ้วยตวงแก้ว 1 ใบ (สำหรับผสมสารละลายโซดาไฟ)



6. ถาดใส่น้ำ 1 ใบ (สำหรับหล่อที่ใส่สารละลายโซดาไฟให้อุณหภูมิลดลง)



7. เหยือก 1 ใบ (สำหรับใส่สารสะลายโซดาไฟที่อุ่นลงแล้ว)



8. แท่งแก้ว (สำหรับกวนโซดาไฟ)



9. เตาไฟฟ้า หรือเตาแก๊ส



10. เครื่องชั่งขนาด 1-2 กิโลกรัม



11. ถุงมือ,แว่นตา,เสื้อคลุม,ที่ปิดจมูก



12. แม่พิมพ์สบู่ ใช้กล่องไม้ หรือ กระดาษแข็งรอด้วยกระดาษไข หรือพลาสติด



13. อื่น ๆ ผ้าเช็ดมือ , กระดาษทิชชู ,กระดาษหนังสือพิมพ์ใช้แล้ว, กระดาษวัดค่า pH



การตั้งสูตรสบู่



1. คัดเลือกไขมัน ที่ใช้ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ไขมันตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ตั้งสัดส่วน ปริมาณไขมันแต่ละชนิด



2. คัดเลือกชนิดด่าง ตามวัตถุประสงค์ เช่น ต้องการทำสบู่ก้อนใช้โซดาไฟ ทำสบู่เหลวใช้ โปรตัสเซียมไฮดรอกไซด์



3. คำนวณปริมาณด่าง ที่ใช้สูตร โดยน้ำหนักไขมันแต่ละชนิดมาคำนวณปริมาณด่างโซเดียม ไฮดรอกไซด์ที่ใช้ แล้วเอามารวมกันเป็นปริมาณรวมดังตัวอย่าง

ตัวอย่างวิธีคำนวณ น้ำมันมะพร้าว 120 กรัม ใช้โซดาไฟ 20.304 (16.92*120/100) กรัม น้ำมันปาล์ม 80 กรัม ใช้โซดาไฟ 10.448 (13.06*80/100) กรัม น้ำมันมะกอก 300 กรัม ใช้โซดาไฟ 37.38 (12.46*300/100) กรัม รวมไขมัน 500 กรัม รวมโซดาไฟ 68.132 กรัม



4. คำนวณปริมาณน้ำที่ใช้ จากหลักข้อกำหนดปริมาณไขมัน 100 กรัม ควรใช้น้ำ 35 - 38 กรัม ฉะนั้น จากตัวอย่างสูตร จึงควรใช้น้ำ 175 - 190 ซีซี.



วิธีการและเทคนิคการผลิตสบู่



1. เตรียมแม่พิมพ์สบู่



2. เตรียมเครื่องมือทั้งหมด



3. ผู้ผลิตใส่เสื้อกันเปื้อน สวมถุงมือ ผ้าปิดปากและจมูก และแว่นตา



4. ชั่งด่างอย่างระมัดระวัง



5. ชั่งน้ำที่ใช้ ค่อย ๆ เติมด่างลงในน้ำอย่างช้า ๆ ระวังไม่ให้กระเด็น คนจนละลายหมด วัดอุณหภูมิ ประมาณ 40-50 องศาเซลเซียส



6. ชั่งไขมันทั้งหมดผสมรวมรวมกัน วางบนเครื่องอังไอน้ำหรือตุ๋น วัดอุณหภูมิประมาณ 40 - 45 องศาเซลเซียส ยกลง



7. เช็คอุณหภูมิน้ำด่างในข้อ 5 อีกครั้ง



8. เมื่ออุณหภูมิน้ำด่างและไขมันใกล้เคียงกัน ค่อยเทน้ำด่างลงในไขมัน คนเบา ๆ เมื่อเทน้ำด่างหมด ให้คนแรง ๆ ควรคน 15 นาที พัก 5 นาที จนกระทั่งเนื้อของเหลวเป็นสีขุ่นจนหมด เทลงแบบพิมพ์



9. ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ แกะออกจากพิมพ์ ตัดเป็นก้อน



10. ตรวจสอบ pH บริเวณผิวสบู่ และเนื้อในสบู่บริเวณต่ำกว่าผิวประมาณ 2 มิลลิเมตร ถ้ามีค่า pH อยู่ระหว่าง 8 - 10 สามารถนำไปใช้ได้ หากมีค่าเกิน 10 เฉพาะที่บริเวณผิว ให้ตัดเฉพาะผิวนอกทิ้ง หากเนื้อในและผิวมีค่า pH เกิน 10 ทั้งสองบริเวณ แสดงว่าสบู่นั้นมีปริมาณด่างเกินกำหนด ไม่ควรนำไปใช้ เพราะอาจเกิดอันตรายทำให้ผิวเหี่ยว ซีด หรือคัน เมื่อสัมผัส



11. ห่อกระดาษ หรือบรรจุภาชนะแจกจ่ายในชุมชน





ข้อควรระวังในการผลิตสบู่



1. เพื่อความปลอดภัยของผู้ผลิต ควรสวมถุงมือยาง รองเท้า กางเกงขายาว เสื้อแขนยาว ใส่ผ้าปิดปาก ปิดจมูก และแว่นตา ขณะที่ทำการผลิตสบู่



2. อุปกรณ์ทุกชนิดที่ใช้ ห้ามใช้วัสดุ อะลูมิเนียม ดีบุก สังกะสี หรือโลหะอื่น ๆ นอกจากที่แนะนำ เพราะโลหะเหล่านี้ จะทำปฏิกิริยากับโซดาไฟ เป็นอันตรายแก่ผู้ผลิตหรือผู้ใช้



3. เลือกใช้เครื่องชั่งที่เหมาะสม เช่น ชั่งของระหว่าง 1 - 3 กก. ให้ใช้เครื่องชั่งที่รับน้ำหนักได้สูงสุด 3 กก. กรณีที่ชั่งวัตถุต่ำกว่า 1 กก. ให้ใช้เครื่องชั่งที่รับน้ำหนักได้สูงสุด 1 กก. การผลิตสบู่ก้อน ให้ชั่งส่วนผสมทั้งหมดอย่างระมัดระวัง และตรวจสอบความแม่นยำของเครื่องชั่งสม่ำเสมอ



4. การใช้เทอร์โมมิเตอร์อันเดียววัดทั้งอุณหภูมิของน้ำด่าง และไขมันนั้น ต้องล้างน้ำและเช็ดให้สะอาดทุกครั้งที่จะเปลี่ยนชนิดการวัด



5. สถานที่ผลิตควรมีอ่างน้ำ หรือถังใส่น้ำสะอาดประมาณ 10 ลิตร เพื่อใช้กรณีฉุกเฉิน เช่น น้ำด่างกระเด็นถูกผิวหนัง



6. ห้ามเด็กเล็ก อายุต่ำกว่า 12 ปี และสัตว์เลี้ยง เข้าใกล้บริเวณที่ผลิต รวมถึงการให้ความรู้ และทำความเข้าใจถึงอันตรายของสารเคมี แก่สมาชิกที่ร่วมผลิต และบุตรหลาน



7. ซื้อโซเดียมไฮดรอกไซด์ เฉพาะที่ใช้ หรือเหลือเก็บเล็กน้อยเท่านั้น เก็บไว้ให้ห่างไกลจากเด็กและสัตว์เลี้ยง หากสามารถใส่กุญแจจะเพิ่มความปลอดภัยอีกชั้นหนึ่ง ภาชนะที่ใส่ต้องปิดให้สนิท โซเดียมไฮดรอกไซด์ ที่เหลือเก็บต้องมีฉลากและวิธีการแก้ไข หรือวิธีการปฐมพยาบาลที่ภาชนะบรรจุทุกครั้ง การตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานสบู่ ตรวจสอบค่า pH โดยตัดชิ้นสบู่เล็กน้อย เป็นแผ่นบาง ๆ ประมาณ 5 กรัม นำมาละลายย้ำ 10 มล. จุ่มกระดาษวัด pH วัดประมาณ 30 วินาที จนสีกระดาษคงที่ นำกระดาษ pH มาเทียบกับสีมาตรฐาน ที่กล่อง ถ้าสีเหมือนกับช่องใด ซึ่งมีค่า pH กำกับไว้ ทำให้ทราบค่า pH ของสบู่ได้ เช่น ดูจากลักษณะ ภายนอก เช่น การเกิดฟอง การล้างน้ำออก การทดสอบฟอง ความนุ่มหลังจากการใช้





วิธีการแก้ไขเมื่อถูกน้ำด่าง



1. เมื่อน้ำด่างกระเด็นสัมผัสผิวหนัง หรือนัยน์ตา - หากกระเด็นถูกผิวหนังหรือร่างกาย ให้ราดบริเวณผิวที่สัมผัสด้วยน้ำส้มสายชู หรือน้ำมะนาวผสมน้ำสะอาดอย่างละเท่ากัน เพื่อทำให้โซเดียมไฮดรอกไซด์เปลี่ยนสภาพจากด่างเป็นกลาง ลดความระคายเคือง แล้วห้างด้วยน้ำเย็นหลายๆ ครั้ง จนไม่รู้สึกคัน แสบร้อน หากยังมีอาการให้ล้างน้ำต่อไปเรื่อยๆ แล้วนำส่งโรงพยาบาล - หากกระเด็นเข้าตา ให้ล้างน้ำสะอาดหลายครั้ง ตลอดเวลาที่นำส่งโรงพยาบาล



2. หากเกิดอุบัติเหตุกลืนกินโซเดียมไฮดรอกไซด์ ให้รีบดื่มนม แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลโดด่วน การทดสอบว่าสบู่จะดีหรือไม่ สบู่ที่ดีควรจะแข็ง สีขาว สะอาด กลิ่นดีและไม่มีรส สามารถขุดเนื้อสบู่ออกเป็นแผ่นโค้ง ๆ ได้ ไม่มันหรือลื่นจนเกินไป เมื่อใช้ลิ้นแตะดูไม่หยาบหรือสาก



วิธีการแก้ไขและการปรับปรุงสบู่ให้ดีขึ้น



1. เมื่อสบู่เป็นด่างเกินกำหนด ให้นำสบู่มาขูดเป็นฝอย ละลายใหม่ ด้วยน้ำ ครึ่งเท่าที่เคยใช้เดิม นำไปตั้งบนลังถึง ไม่ต้องคน เมื่อละลายหมด เติมกรดซิตริก คนเบาๆ วัดค่า pH จนได้ค่าตามต้องการ สบู่ที่ได้จะมีลักษณะเนื้อไม่แน่น ควรนำมาทำสบู่น้ำดีกว่า



2. ถ้าส่วนผสมไม่ข้น แสดงว่า ด่างน้อยไป แก้โดยเพิ่มด่างเข้าไปอีก เล็กน้อย แล้วกวนต่อไป



3. ส่วนผสมเป็นก้อนและแยกชั้น แสดงว่า ใช้ด่างมาก ให้เติมน้ำมันหรือกรดไขมัน ลงไปทีละน้อย แล้วตีต่อไป



4. สบู่ที่ได้เปราะ ตัดไม่สวย ให้เติมกรดไขมันหรือน้ำมันอีกตาม 5-10 เปอร์เซ็นต์



5. ถ้าสบู่ที่ผ่านขั้นตอนตามเวลาที่ทำทุกช่วงแล้ว แต่ยังมีส่วนผสมบางส่วนไม่แข็งตัวหรือแยกกันอยู่ หรือไม่ดีเพราะสาเหตุใดก็ตาม อาจแก้ไขให้ดีขึ้นดังนี้ - ตัดสบู่ออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ลงในหม้อที่มีน้ำมันบรรจุอยู่ 2.8 ลิตร พร้อมทั้งเทส่วนที่เป็นของเหลวที่เหลืออยู่ในแบบพิมพ์.....ลงไปด้วย - นำไปต้มนานประมาณ10นาที อาจเติมน้ำมะนาวหรือน้ำมันอื่น ๆ ที่มีกลิ่นหอมลงไปในส่วนผสมประมาณ 2 ช้อนชา.....( ถ้ายังไม่ได้เติม ) ต่อจากนั้นจึงเทส่วนผสมลงในแบบพิมพ์ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ปล่อยไว้ 2 วัน แล้วดำเนินการตามที่.....กล่าวมา การทำสบู่จากน้ำด่างที่ได้จากขี้เถ้า เริ่มด้วยการทำน้ำด่างขึ้นเองจากขี้เถ้า สรุปแล้ว สบู่ก้อนและสบู่เหลวผสมสมุนไพร เป็นผลิตภัณฑ์จากน้ำมันพืชและน้ำมันสัตว์ ซึ่งหาได้ง่ายในท้องถิ่น ประเทศไทยสามารถผลิตเองได้ และหาซื้อได้ง่าย อีกทั้งยังมีสมุนไพรอีกมากมาย ในประเทศ วิธีการผลิตสบู่ก้อนและสบู่เหลวสมุนไพรก็ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน เกษตรกร ประชาชน สามารถผลิตได้ โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือ เครื่องจักรที่มีราคาแพง เพียงแต่ต้องฝึกฝนให้มากแล้วจะได้สบู่ที่มีคุณภาพ และสามารถส่งออกมาได้ในราคาสูงเป็นการเพิ่มรายได้ ช่วยเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิต ได้อีกทางหนึ่งด้วย



ตัวอย่างสูตรสบู่ก้อน



สบู่สูตรนี้เป็นสบู่แข็ง มีสีขาว และให้ฟองมาก สบู่สูตรนี้ยังเหมาะเป็นสบู่พื้นฐานที่จะนำไปใส่ส่วนผสมต่างๆ เพื่อทำเป็นสบู่เอนกประสงค์อื่นๆ สำหรับใช้บ้านเรือน ส่วนผสม 1. น้ำมันมะพร้าว 200 กรัม 2. น้ำมันปาล์ม 200 กรัม 3. โซเดียมไฮดรอกไซด์ 60 กรัม 4. น้ำ 150 กรัม



วิธีทำ



1. เตรียมแม่แบบทำสบู่ตามขนาดและรูปร่างตามที่ต้องการ

2. ค่อย ๆ เทโซเดียมไฮดรอกไซด์ลงในน้ำ ผสมให้เข้ากันตั้งทิ้งไว้ให้อุณหภูมิเหลือ 40 องศาเซลเซียส

3. ผสมน้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม ใส่ภาชนะตั้งบนลังถึง หรือใช้วิธีการตุ๋น คนให้เข้ากันจนได้อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส แล้วยกลงจากไฟ

4. เทสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (ข้อ 2) ลงในน้ำมัน(ข้อ 3) คนให้เข้ากัน

5. คนไปเรื่อยๆ จนสบู่จับตัวเหนียวข้น สังเกตเนื้อข้นเหมือนนมข้น แล้วจึงเทลงพิมพ์ที่เตรียมไว้

6. ตั้งพิมพ์ไว้ประมาณ 4 - 8 ชั่วโมง จนสบู่จับตัวเป็นก้อนแข็ง ลองใช้นิ้วมือกดดู แล้วจึงเอาออกจากแบบเช็คค่า pH ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 9.5 - 10 เก็บต่อไปอีกนาน 6 - 8 สัปดาห์ เช็คค่า pH ซ้ำอีกครั้ง ซึ่งควรจะอยู่ระหว่าง 8 - 9 จึงนำไปใช้

ผู้ติดตาม