ตัวเคลื่อนไหว

JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW

วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

รู้ไว้จะได้ระวัง "โรคไฟโบรมัยอัลเจีย"

หลายคนอาจจะยังไม่รู้จักโรคร้าย "ไฟโบรมัยอัลเจีย" ซึ่งเป็นโรคใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยมากขึ้น … สำหรับโรคดังกล่าวนั้นเพิ่งมีการศึกษาและสำรวจถึงจำนวนผู้ป่วยและลักษณะของโรคเมื่อไม่นานมานี้
โดยในช่วงปลายเดือนต.ค. ปีที่ผ่านมา บริษัทไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดงานสัมมนาที่ห้องประชุม เบฟเวอรี่ ฮิลล์ โรงแรมคอนราดกรุงเทพฯ เปิดเผยผลสำรวจล่าสุดจาก "โครงการการสำรวจแนวโน้มและความตระหนักรู้เกี่ยวกับ โรคไฟโบรมัยอัลเจีย ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" เพื่อนำเสนอโรคไฟโบรมัยอัลเจียให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น

โดยในการประชุมครั้งนี้ ดร.เฮนรี่ ลู หัวหน้าประจำคลินิกควบคุมความปวด มาคาติ ณ ศูนย์การแพทย์มาคาติ ฟิลิปปินส์ อธิบายอาการของโรคไฟโบรมัยอัลเจียว่า ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดเรื้อรังและลุกลามไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ระดับอาการปวดเทียบได้เกือบเท่ากับระดับของการปวดในไมเกรน ขณะนี้ทั่วโลกมีผู้ป่วยเป็นโรคดังกล่าวอยู่ถึง 40 ล้าน และผู้ป่วยบางคนไม่ทราบว่าตนนั้นป่วยเป็นโรคนี้อยู่
"อาการปวดจากโรคไฟโบรมัยอัลเจีย มีเอกลักษณ์อยู่ตรงที่อาการปวดจะค่อยๆ แผ่ขยายออกไปตามร่างกายของผู้ป่วย ข้อมูลจากการวิจัยในผู้ป่วยในประเทศสหรัฐ พบว่า ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ในบางรายที่เป็นหนักถึงขั้นชา และนอนไม่หลับ เป็นต้น" ดร.ลู กล่าว

และจากข้อมูลและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ล่าสุด ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า สาเหตุของโรคมาจากสมองส่วนที่ทำหน้าที่รับรู้ความเจ็บปวด ซึ่งอาจเป็นส่วน "ทาลามัส" ทำงานไวผิดปกติเพราะปัจจัยหลัก 3 ประการ คือ ความผิดปกติทางพันธุกรรม เคยบาดเจ็บอย่างรุนแรง หรือเกิดจากปัจจัยแวดล้อม เช่น เคยถูกทารุณกรรม เมื่อเป็นหนักเข้าจะทำให้ผู้ป่วยสุขภาพร่างกายและจิตใจถดถอยลง บางรายถึงขั้นเสียสติ เพราะทนอยู่กับอาการป่วยมานานและไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
สำหรับผู้ที่ตรวจพบว่าเป็นโรคดังกล่าวนั้น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำแนะนำว่า ไม่ควรตื่นตระหนก ให้ไปพบแพทย์ที่ไปพบอยู่ประจำ เพราะแพทย์จะรู้ประวัติผู้ป่วยซึ่งมีความสำคัญมากในการใช้ประกอบการวินิจฉัย แล้วจึงปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ไปตามขั้นตอน

รู้หรือไม่...เว็บไซต์แรกของโลกคือเว็บอะไร

เว็บไซต์แรกของโลก คือ http://info.cern.ch เปิดตัวครั้งแรกบนโลกไซเบอร์เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2534 สร้างโดย เซอร์ทิโมที จอห์น เบอร์เนิร์ส-ลี (Sir Timothy John Berners-Lee, OM, KBE, FRS, FREng, FRSA) หรือที่เรารู้จักในนาม ทิม เบอร์เนิร์ส-ลีผู้คิดและพัฒนาระบบ เวิลด์ไวด์เว็บ (WorldWideWeb) เป็นคนแรกของโลก

ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี เกิดในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นบุตรของนายคอนเวย์ เบอร์เนิร์ส-ลี และนางแมรี ลีวูดส์ ซึ่งทั้งสองคนนี้เป็นนักคณิตศาสตร์ ผู้อยู่ในทีมสร้างคอมพิวเตอร์ "แมนเชสเตอร์ มาร์ก 1" คอมพิวเตอร์ยุคแรกของโลก

ระหว่างเดือนมิถุนายน–ธันวาคม พ.ศ. 2523 เป็นช่วงที่ ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี ได้ทำงานเป็น Freeland อยู่ที่เซิร์น (Cern) ได้เสนอโครงการ ข้อความหลายมิติ (Hypertext) ขึ้นเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างนักวิจัยด้วยกัน และมีการเริ่มสร้างระบบต้นแบบไว้แล้ว โดยใช้ชื่อว่า ENQUIRE

“ เมื่อถึง พ.ศ. 2532 เซิร์นได้กลายเป็นศูนย์อินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป และเบอร์เนิร์ส-ลีได้เล็งเห็นโอกาสในการใช้ "ข้อความหลายมิติ" ผนวกเข้ากับอินเทอร์เน็ต เบอร์เนิร์ส-ลีเขียนไว้ในข้อเสนอโครงการของเขาว่า "...ผมเพียงเอาความคิดเรื่องข้อความหลายมิตินี้เชื่อมต่อเข้ากับความคิด "ทีซีพี" และ "DNS" และเท่านั้นก็จะได้ "เวิลด์ไวด์เว็บ.." เบอร์เนิร์ส-ลีร่างข้อเสนอของเขาเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2532 และในปี พ.ศ. 2533 ด้วยความช่วยเหลือของโรเบิร์ต ไคลิยู ช่วยปรับร่างโครงการให้ ไมค์ เซนดอลล์ผู้จัดการของเบอร์เนิร์ส-ลีจึงรับข้อเสนอของเขา ในข้อเสนอนี้ เบอร์เนิร์ส-ลีได้ใช้ความคิดเดียวกับระบบเอ็นไควร์มาใช้สร้างเวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งเขาได้ออกแบบและสร้างเว็บเบราว์เซอร์และเอดิเตอร์ตัวแรก (เรียกว่าWorldWideWebและพัฒนาด้วย NEXTSTEP)และเว็บเซิร์บเวอร์ขึ้น เรียกว่า httpd (ย่อมาจาก HyperText Transfer Protocal Deamon)

โทรอนโต (Toronto)


โทรอนโต (Toronto) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศแคนาดา และเป็นเมืองที่ใหญ่อันดับที่ 4 ในทวีปอเมริกาเหนือ และโทรอนโตเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐออนแทรีโอ ของแคนาดา โทรอนโตมีประชากรประมาณ 5,304,100 คน (ข้อมูลคาดการณ์ ในปี พ.ศ. 2548) โทรอนโตได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มีหลายเชื้อชาติมากที่สุดเมืองหนึ่ง และโทรอนโตเป็นศูนย์กลางทาด้านเศรษฐกิจ ศิลปะ วัฒนธรรมของประเทศแคนาดา โดยในปี พ.ศ. 2548 รัฐบาลแคนาดาได้จัดให้โทรอนโตเป็นเมืองหลวงวัฒนธรรมของประเทศ

ผู้ติดตาม