ตัวเคลื่อนไหว

JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW

วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

ดอกไฮเดรนเยีย














ต่างประเทศมักรู้จักไฮเดรนเยียในชื่อของ ฮอร์เดนเชีย (Hortensia) ซึ่งเป็นพืชสกุลหนึ่งในวงศ์ Hydrangeaceae

ซึ่งประกอบไปด้วยพืชสกุลต่าง ๆ ถึง 80 สกุล ส่วนใหญ่พบใน จีน ญี่ปุ่น ทวีปอเมริกาพบตั้งแต่เม็กซิโกไปจนถึงอเมริกาใต

แต่บางสกุลอาจพบในออสเตรเลียนิวซีแลนด์(9สกุล)แอฟริกา(6สกุล)ยุโรปพบเพียงสกุลเดียว ไฮเดรนเยียมีจำนวนชนิดถึง80ชนิด

ต่ส่วนใหญ่ที่มนุษย์นำมาพัฒนาพันธุ์โดยสร้างลูกผสมออกมาหลายร้อยพันธุ์นั้นมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Hydrangea macrophylla


ชนิดและแหล่งกำเนิดไฮเดรนเยียที่น่าสนใจ (บางชนิด)

- ประเทศจีน (ภาคตะวันตกเฉียงใต้และเทือกเขาหิมาลัยใกล้ทิเบต)

Hydrangea anomala (เลื้อย), H. aspera, H. Bretschneideri, H. chungii, H. coacta, H. coenobralis, H. davidii, H. dumicola, H. gracilis, H. heteromalla, H. longipes, H. macrocarpa

- ประเทศญี่ปุ่น

Hydrangea hirta, H. involucrate, H. macrophylla, H. paniculata, H. scandens

- ประเทศอาเจนตินา (ภาคใต้)

Hydrangea serratifolia

- ไต้หวัน

Hydrangea kawakamii, H. involucrate

- ฟิลิปปินส์

Hydrangea scandens

ประวัติการนำเข้าสู่ประเทศไทย

คนไทยรู้จักไฮเดรนเยียมานานแล้วไม่แน่ว่าผู้ใดสั่งพันธุ์ไม้ชนิดนี้เข้ามาสู่ประเทศไทยแต่สมัยใด

แต่พอจะอนุมานได้ว่าเข้ามาสู่ประเทศไทยในสมัยของสมเด็จพระปิยะมหาราชเนื่องจากพระองค์ทรงเสด็จประพาสสิงคโปร์และเกาะ

ชวาอินโดนีเซียรวมทั้งหลายประเทศในยุโรปซึ่งการเสด็จประพาสต่างประเทศเหล่านั้น พระองค์ได้ทรงนำพืชพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ

หลายชนิดเข้ามาปลูกในพระราชวังสวนดุสิตซึ่งไฮเดรนเยียก็น่าจะเข้ามาสู่ประเทศไทยสมัยนั้นเช่นกันแม้จะไม่ปรากฏหลักฐาน

ว่าบุคคลใดเป็นผู้นำเข้าคนแรกก็ตาม

พฤกษศาสตร์

ไฮเดรนเยีย(Hydrangea)เป็นไม้พุ่งสูง1-3เมตรจัดเป็นพืชหลายฤดูชอบอากาศหนาวเย็น บางชนิดเป็นไม้ยืนต้น

หรือไม้เลื้อยแต่ส่วนใหญ่มักเป็นไม้พุ่มเตี้ยใบเกิดแบบตรงข้ามแผ่นใบมีขนาดกว้างใหญ่ขอบใบจักช่อดอกเกิดส่วนปลายกิ่งหรือยอด

ลำต้นดอกประกอบด้วยใบประดับที่มีสีสวยงามแล้วแต่พันธุ์ ไฮเดรนเยียอาจผลัดใบหรือไม่ผลัดใบก็ได้แต่ถ้าเป็นชนิด

ที่อยู่ในเขตอบอุ่นจะผลัดใบพักตัวในฤดูหนาวดอกของไฮเดรนเยียเกิดที่ปลายยอดกิ่งหรือยอดลำต้น เป็นช่อดอกแบบช่อเชิง

หลั่นหรือช่อแยกแขนง(corymbsorpanicles) ช่อดอกประกอบด้วยดอกสองแบบคือกลุ่มดอกสมบูรณ์เพศซึ่งมีขนาดเล็ก

ที่อยู่บริเวณใจกลางช่อดอกใหญ่ ส่วนกลุ่มดอกที่มีขนาดดอกย่อยใหญ่สะดุดตานั้นความจริงเป็นดอกที่เกิดจากกลีบดอก

ประดับดูสะดุดตา เกิดเป็นวงรอบขอบนอกของช่อดอกใหญ่ไฮเดรนเยียบางชนิดมีช่อดอกซึ่งประกอบด้วยดอกย่อยสมบูรณ์เพศ

ทั้งช่อเลยก็มี ดอกไฮเดรนเยียส่วนใหญ่จะมีสีขาวเป็นหลัก แต่บางชนิด เช่น H. macrophylla อาจเป็นสีน้ำเงิน แดง

ชมพูหรือม่วง ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความเป็นกรดหรือด่างของเครื่องปลูก หากเครื่องปลูกมีสภาพเป็นกรด pH 5.0-5.5สีดอกจะออก

เป็นสีน้ำเงิน ถ้าสภาพเป็นด่างจะให้ดอกสีม่วงหรือชมพูถ้าปลูกในเครื่องปลูกที่สภาพเป็นกลางดอกไฮเดรนเยียจะมีสีครีมซีด

ทั้งนี้เพราะไฮเดรนเยียเป็นหนึ่งในบรรดาพืชไม่กี่ชนิดที่สะสมธาตุอะลูมินัม ธาตุนี้จะถูกปลดปล่อยออกมาจากเครื่องปลูก

ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด ธาตุนี้จะทำปฏิกิริยากับสารละลายในกลีบดอกทำให้เกิดสีน้ำเงินขึ้นได้ ปกติไฮเดรนเยียต้องการดินที่เป็นกรดอ่อน

pH 6.0-6.5 จะเติบโตได้ดี

การปลูกเลี้ยงเป็นการค้า

ไฮเดรนเยียจัดเป็นไม้ประดับที่ได้รับความนิยมมากชนิดหนึ่งของยุโรปและสหรัฐอเมริกา ในประเทศไทยปลูกได้ดีเฉพาะในเขต

ที่มีภูมิอากาศหนาวเย็น ความชื้นในอากาศสูง เช่น จ. เชียงราย จ. เชียงใหม่ (พื้นที่สูง 1,000 เมตรขึ้นไปจะให้ผลดีเป็นพิเศษ)

ภูเรือ เขาค้อ เป็นต้น ในประเทศฟิลิปปินส์ นิยมปลูกเป็นการค้า ในบริเวณพื้นที่ระดับสูงตั้งแต่ 1,800 เมตร เช่น ยอดเขา

ที่บาเกียว ซึ่งมีอากาศหนาวเย็นและชื้นจัด โดยปลูกเป็นไม้กระถางจำหน่ายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ไฮเดรนเยียที่ปลูกเป็นการค้าคือ

H. macrophylla ซึ่งมีกว่า 600 พันธุ์ ส่วนใหญ่พันธุ์ปลูกเหล่านี้เกิดและมีขนาดใหญ่มากขยายปลูกโดยการปักชำกิ่ง

การส่งเสริมปลูกไฮเดรนเยียเพื่อผลิตเป็นดอกไม้แห้ง มูลนิธิโครงการหลวง เริ่มต้นตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2536ศูนย์พัฒนา

โครงการหลวงขุนแปะ อ. จอมทอง จ. เชียงใหม่ ได้เริ่มนำพันธุ์ดอกไม้แห้งต่าง ๆมาส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเพื่อเป็นอาชีพ

เสริมรายได้โดยมีผู้เขียน(รศ.ม.ล. จารุพันธ์ ทองแถม จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นหัวหน้าโครงการผลิตภัณฑ์ไม้ประดับแห้ง)

ได้มีการนำดอกไม้แห้งหลายชนิดมาทำการส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนแปะ

โดย นายพิษณุพันธ์ สินชัย เจ้าหน้าที่ฝ่ายไม้ดอกไม้ประดับได้นำเอาไฮเดรนเยียซึ่งมีปลูกประดับในสถานีมาทำการขยาย

พันธุ์ได้จำนวน 800 ต้นเป็นสายพันธุ์พื้นเมืองทำการเพาะเลี้ยงในถุงดำประมาณ 1 ปี จึงได้นำไปส่งเสริมแก่เกษตรกรกะเหรี่ยง

และชาวเมืองเชียงใหม่ไฮเดรนเยียเป็นไม้ดอกที่มีอายุยืนยาวนานหลายปีหรือที่เรียกว่าเป็นพืชถาวร ในสภาพที่มีอากาศหนาวเย็นสูง

จากระดับน้ำทะเล1,000 เมตรขึ้นไปพบว่าไฮเดรนเยียสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน-ฤดูหนาว

คุณภาพดอกจะสวยงามมากแต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการจัดการที่ดีด้วย

พันธุ์ของไฮเดรนเยียในประเทศไทยมีอยู่หลายพันธุ์ ได้แก่

1. พันธุ์พื้นเมือง พันธุ์เก่าแก่ที่นำเข้ามานาน จนปรับตัวให้เข้ากับอากาศร้อนได้ดี

2. Botstein พันธุ์ใหม่ นำเข้าโดยโครงการหลวง

3. Sister Therse

4. Oregon Pride

ไม่นานมานี้นักพืชสวนในอังกฤษประสบผลสำเร็จในการปรับปรุงพันธุ์ไฮเดรนเยียได้พันธุ์ใหม่ชื่อ‘Endless Summer’

ลูกผสมซึ่งคัดพันธุ์ได้นี้น่าจะเป็นพันธุ์แรกที่ให้ช่อแบบทรงกลม(mophead) ที่สามารถสร้างตาดอกขึ้นบนกิ่งที่มีอายุปีแรก

เท่านั้นและจะสร้างดอกขึ้นได้เลยภายในปีแรกทำให้ผู้ปลูกได้ชื่นชมกับดอกที่จะออกอย่างรวดเร็วผิดกับพันธุ์เก่าทั้งหลาย

ปัจจุบันมีเนอร์สเซอรี่ในสหรัฐอเมริกานำไปพัฒนาต่อโดยผลิตเป็นการค้าซึ่งไฮเดรนเยียพันธุ์ใหม่นี้หลังจากออกดอกไปแล้ว

และตัดแต่งกิ่งเก่าออก ก็จะแตกหน่อใหม่และออกดอกได้เลยในฤดูถัดไป ข้อดีอีกประการคือ ทนต่ออากาศหนาวเย็น ดอกของ

H. macrophylla ‘Endless Summer’ นี้มีสีชมพูหรือสีน้ำเงิน (ขึ้นอยู่กับระดับความเป็นกรดหรือด่างของเครื่องปลูก)

ใบของมันมีสีเขียวเข้ม และทนต่อโรคราน้ำค้าง (mildew resistant) อย่างไรก็ตามไฮเดรนเยียชอบแสงแดดที่ได้รับการ

พรางแสงเพียง 30% เท่านั้น ถ้าพลางแสงให้มากกว่านี้จะมีผลผลิตต่ำลง

พันธุ์ที่ทางศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนแปะทำการส่งเสริมปลูกทั้งหมดเป็นพันธุ์เก่าแก่ซึ่งนิยมเรียกกันว่า

พันธุ์พื้นเมือง ซึ่งจากการที่ได้เปรียบเทียบคุณภาพผลผลิต การเจริญเติบโต ความต้านทานโรค

และจำนวนการผลิต พบว่าพันธุ์พื้นเมืองเหมาะสมที่จะทำการปลูกเพื่อผลิตเป็นดอกไม้แห้งได้ดีมาก

ต้นทุนการผลิตน้อยกว่าพันธุ์อื่น ๆ ไฮเดรนเยียพันธุ์นี้พบทั่วไปตามวัดวาอารามและสวนสาธารณะ

ทั่ว ๆ ไป นอกจากนี้ยังพบมากที่หลายหมู่บ้านในเขตปิล๊อก อ. ทองผาภูมิ, สังขละบุรี

ชายแดนไทย-พม่าไฮเดรนเยียเป็นพืชที่ต้องการดินร่วนซุยมีอินทรียวัตถุสูงเพื่อเก็บน้ำและรักษาความร่วนโปร่งของดิน

ควรใช้ปุ๋ยหมักและใบไม้ผุใส่เพิ่มในหลุมปลูกไฮเดรนเยียต้องการดินที่เป็นกรดอ่อน pH 6.0-6.5 เพื่อให้ได้ดอกสีชมพู

แต่ถ้าปรับ pH ให้เป็นกรด pH 5.0.5.5 จะได้ดอกสีน้ำเงิน

การขยายพันธุ์

ไฮเดรนเยียขยายพันธุ์ได้โดยตัดชำกิ่งอ่อนในช่วงฤดูฝนหรืออาจใช้กิ่งกลางอ่อนกลางแก่ก็ได้ในช่วงฤดูร้อน

สำหรับในต่างประเทศไฮเดรนเยียมีการพักตัวในฤดูหนาวเขาใช้วิธีตัดกิ่งแก่จากต้นที่พักตังทิ้งใบหมด

นอกจากนี้เขายังขุดเอากอขึ้นมาตัดหน่อหรือกิ่งที่อยู่ใต้ดิน (suckers) ออกมาปักชำเป็นต้นใหม่ หรือทำการตอนกิ่ง

(layering)เพื่อให้ออกรากจากนั้นจึงขุดแยกไปปลูกต่อไปสำหรับการขยายพันธุ์ในประเทศไทย

โครงการหลวงได้ทำการขยายพันธุ์โดยวิธีการปักชำกิ่งช่วงที่เหมาะสมสำหรับการขยายพันธุ์คือช่วงฤดูฝนเพราะสภาพอากาศชื้น

และเป็นช่วงที่ต้นพันธุ์แตกหน่อกิ่งก้านมากทำให้มีกิ่งพันธุ์จำนวนมาก

การเพาะชำอาจปักชำในกระบะชำที่มีทรายหยาบและแกลบดำเป็นวัสดุปักชำและใช้ฮอร์โมนเร่งราก

ช่วยให้มีจำนวนและความยาวรากเพิ่มขึ้นจากนั้นจึงย้ายกิ่งลงถุงพลาสติกดำ

การปลูก

เมื่อทำการเพาะชำจนได้ต้นที่สมบูรณ์แล้วต้องคำนึงระยะเวลาเหมาะสมและเป็นพื้นที่รับน้ำได้ตลอดปี การวางแนวปลูกระยะการปลูก

ควรอยู่ 1x1 เมตีร การเตรียมหลุมปลูกขุดหลุมกว้าง 50x50 เซนติเมตร ลึก 50 เซนติเมตร

การเตรียมวัสดุปลูก

หลุมปลูกไฮเดรนเยียควรมีความกว้างยาวและลึกอย่างต่ำ 40 เซนติเมตร ควรมีปูนขาวโรยรองก้นหลุมประมาณ 100 กรัมต่อหลุม

หินฟอสเฟต (0-3-0) 100 กรัมต่อหลุม ปุ๋ยคอก (ควรผ่านการหมักแล้ว) 4 กิโลกรัมต่อหลุม เปลือกข้าว

1 กิโลกรัมต่อหลุม ผสมคลุกเคล้ากับหน้าดิน ขุดหลุมและรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กรัมต่อหลุม

การดูแลรักษา
ไฮเดรนเยียที่ปลูกเพื่อตัดดอกแปรรูปเป็นดอกไม้แห้ง ต้องอาศัยระยะเวลาในการดูแลรักษาพอสมควร หลังจากการปลูก

ไปแล้วประมาณ 5-6 เดือน จึงจะตัดดอกที่สามารถนำไปทำดอกไม้แห้งได้ ช่วงเวลาดังกล่าวควรมีการจัดการดูแลต้น

ที่ดีเลือกกิ่งสมบูรณ์ไว้ กิ่งชำเดิมควรตัดทิ้ง เมื่อมีกิ่งใหม่มาทดแทน หลังจากอายุไฮเดรนเยีย 1 ปีขึ้นไป

จะแตกกิ่งต้นจำนวนมาก ต้องทำการตัดแต่งกิ่งออกคงเหลือไว้ประมาณ 10-12 กิ่งต่อกอ ควรตัดแต่งกอ

อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ช่วงฤดูร้อนควรมีการพรางแสงด้วยตาข่ายพลาสติกดำหรือซาแลนโดยพรางแสง 50%

เพื่อลดอาการไหม้ที่ใบและดอก เนื่องจากความเข้มแสงในช่วงต้นฤดูหนาวและช่วงฤดูร้อนมีมาก

การให้ปุ๋ย

หลังจากปลูกไปแล้วประมาณ 1 เดือน ใส่ปุ๋ยเคมียูเรียสูตร 46-0-0 รอบโคนต้น 50 กรัมต่อต้น หรือปุ๋ยสูตร 15-0-0 อัตรา

15 กรัมต่อน้ำ 5 ลิตร รดต้น สัปดาห์ละครั้ง กำจัดวัชพืชก่อนใส่ปุ๋ย ช่วงแตกกอ, ใบใหม่ ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา

50 กรัมต่อต้น สลับกับปุ๋ยทางใบ สัปดาห์ละครั้ง ช่วงใบแก่และออกดอก ใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 50 กรัมต่อต้น

สลับกับปุ๋ยทางใบสูตร 0-0-46 อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ20ลิตรพ่นสัปดาห์ละครั้งเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของช่อดอก

และกลีบดอก และไม่ควรให้ปุ๋ยทางใบเมื่อออกดอกแล้วเพราะอาจทำให้เกิดการไหม้ที่ดอก

การคัดเกรด, ราคา จะคัดตามความสมบูรณ์ของดอก, ขนาดของดอกโดยแบ่งตามเกรดได้ดังนี้

เกรด 1 เส้นผ่าศูนย์กลางของช่อดอก 30 เซนติเมตร

เกรด 2 เส้นผ่าศูนย์กลางของช่อดอก 20-30 เซนติเมตร

เกรด 3 เส้นผ่าศูนย์กลางของช่อดอก 15-20 เซนติเมตร

เกรด 4 เส้นผ่าศูนย์กลางของช่อดอก 10-15 เซนติเมตร

สรุปการปลูกไฮเดรนเยียเพื่อผลิตเป็นดอกไม้แห้ง

1. ต้องเลือกพื้นที่อากาศหนาวเย็น ความชื้นสูง ดินดีร่วนซุย หน้าดินลึก

2. การปลูกไฮเดรนเยียจะใช้ระยะเวลานานพอสมควรจึงจะให้ผลผลิต(ประมาณ6-12เดือน)

และใช้ต้นทุนบ้างตามสมควรในระยะแรกเริ่ม

3. ปริมาณผลผลิตไฮเดรนเยียขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา โดยเฉพาะในเรื่องของน้ำและปุ๋ย

4. ปัญหาเรื่องโรคและแมลงมีน้อยถ้ามีการจัดการที่ดี

5.ไฮเดรนเยียเป็นพืชอายุยาวนานหลายปีสามารถปลูกเป็นพืชแซมในแปลงไม้ผลของเกษตรกร

ทำให้เกษตรกรมีเวลาดูแลพืชอื่น ๆ ควบคู่กันไปและมีรายได้เสริมตลอดปี

6. ไฮเดรนเยียนอกจากจะเป็นพืชเสริมรายได้ให้กับเกษตรกรแล้วยังช่วยทำให้สถานที่เกิดความสวยงามและร่มรื่น

แก่ผู้ที่ได้มาพบเห็น

7. ไฮเดรนเยียสามารถนำไปแปรรูปได้ ทางโครงการดอกไม้แห้งให้ราคาตามขนาดและคุณภาพ

ไม่จำกัดปริมาณ จึงเหาะที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก

การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้ดอกไฮเดรนเยีย

แม้การปลูกไฮเดรนเยียเป็นไม้ตัดดอกสดจะทำรายได้ตอบแทนแก่เกษตรกรได้ดี โดยทำราคาต่อดอกได้สูงและใช้เวลาการปลูก

ถึงตัดดอกในระยะเวลาอันสั้นกว่าก็จริงแต่การตลาดยังนับว่าแคบ และคุณภาพดอกมักเสียหายเร็ว ดังนั้นจึงพบว่ามีดอกที่เริ่มเหี่ยว

หมดสภาพการส่งตลาดจำนวนมาก ส่วนการจำหน่ายเป็นไม้กระถางนั้น ยิ่งพบปัญหาเรื่องของการจำหน่ายหนักขึ้นไปอีก

โครงการผลิตภัณฑ์ไม้ประดับแห้ง ทดลองแปรรูปดอกไฮเดรนเยีย ตั้งแต่ พ.ศ. 2534โดยในระยะแรกได้ทดลองปลูก

ที่ดอนอินทนนท์และดอยปุย จ. เชียงใหม่ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าดอกย่อยของไฮเดรนเยียมีเยื่อใยสูงแม้จะแห้งสนิทแล้ว

ก็สามารถแปรรูปโดยการฟอก ย้อม ผ่านความร้อนได้ โดยไม่ทำให้เสียรูปแต่ทั้งนี้จำต้องให้เวลากับช่อดอกไฮเดรนเยีย

ได้พัฒนาต่อโดยกลีบดอกจะเปลี่ยนสีจากชมพู ม่วงอ่อน หรือน้ำเงินเปลี่ยนไปเป็นสีเขียวอ่อนและเริ่มสีซีดจางลง ระยะนี้กลีบดอกจะ

มีความหนาสูงสุด ให้ทำการตัดช่อดอกออกจากแปลงรวบรวมบรรจุกล่องส่งโรงงาน แขวนผึ่งลมให้แห้งก่อนส่งโรงงานที่กรุงเทพฯ

เพื่อทำการแปรรูปต่อไป

การแปรรูปดอกไฮเดรนเยียในโครงการหลวงสมัยปัจจุบัน ทำโดยการฟอก ย้อมและรักษาความนุ่มนวลของกลีบดอกให้คง

สภาพคล้ายดอกสด นอจากนี้ยังทำการหมักด้วยกลิ่น มิโมซา (Mimosa)และกลิ่นของดอกกล้วยไม้บางชนิดเข้าไป

เพื่อเพิ่มมูลค่าของดอกไฮเดรนเยียให้เป็นที่ชื่นชอบแก่ผู้ซื้อ

ที่สำคัญคือเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่า (valueadded) แก่ดอกไฮเดรนเยียที่ปลูกในประเทศไทยอีกด้วย

1 ความคิดเห็น:

ผู้ติดตาม