ตัวเคลื่อนไหว

JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW

วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553

ดอกดาหลา





ต้นดาหลา (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Etlingera elatior (Jack) R.M. Smith )เป็นชื่อของพืชล้มลุกประเภทใบเลี้ยงเดี่ยวชนิดหนึ่งซึ่งมีดอกที่สวยงาม มีความนิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอก ที่อยู่ในวงศ์ขิง( Zingiberales) ซึ่งจัดเป็นพืชที่อยู่ในวงศ์เดียวกันกับขิงและข่านั้นเอง ส่วนลำต้นดาหลาจะอยู่ใต้ดินที่พวกเราเรียกว่าเหง้าซึ่งเหง้าที่พูดถึงนี้จะเป็นจุดกำเนิดของหน่ออ่อนของทั้งต้นและดอกดาหลาต่อไป
ต้นดาหลานอกจากจะนำมาเป็นไม้เพื่อชมความสวยงามของดอกแล้วยังสามารถนำดอกมาประกอบอาหารได้และก็มีคุณค่าทาง
สมุนไพรสูงมากด้วย


สายพันธุ์
- ดอกสีแดงได้แก่ พันธุ์บัวแดงใหญ่ พันธุ์แดงอินโด
- ดอกสีชมพู ได้แก่ พันธุ์บานเย็น


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์


ลำต้น ดาหลาเป็นพืชที่มีลักษณะคล้ายข่า มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า (rhizome) เหง้านี้ จะเป็นบริเวณที่เกิดของหน่อดอกและหน่อต้น ดาหลา 1 ต้น สามารถให้หน่อใหม่ได้ประมาณ 7 หน่อ ในเวลา 1 ปี ส่วนลำต้นเหนือดินเป็นกาบใบที่โอบซ้อนกันแน่น เช่นเดียวกับพวกกล้วย ส่วนนี้คือลำต้นเทียม (pseudostem) ลำต้นเหนือดินสูง 2-3 เมตร มีสีเขียวเข้ม
ใบ มีรูปร่างยาวรี กลางใบกว้างแล้วค่อย ๆ เรียวไปหาปลายใบ และฐานใบ ใบไม่มีก้านใบ ผิวเกลี้ยงท้งด้านบนและด้านล่าง ใบยาว 30-80 เซ็นติเมตร กว้าง 10-15 เซนติเมตร ปลายใบ แหลมฐานใบเรียวลาดเข้าหาก้านใบ เส้นกลางใบปรากฏชัดทางด้านล่างของใบ
ดอก ดอกดาหลาเป็นดอกช่อมีลักษณะดอกแบบ (head) ประกอบด้วยกลีบประดับ (Bracts) มี 2 ขนาด ส่วนโคนประกอบด้วยกลีบประดับขนาดใหญ่ มีความกว้างกลีบ 2-3 ซ.ม. จะมีสีแดงขลิบขาวเรียงซ้อนกันอยู่และจะบานออก ประมาณ 25-30 กลีบ และมีกลีบประดับ ขนาดเล็กอยู่ส่วนบนของช่อดอก ความกว้างกลีบประมาณ 1 ซ.ม. ซึ่งมีสีเดียวกับกลีบประดับ ขนาดใหญ่ กลีบประดับเล็กนี้จะหุบเข้าเรียงเป็นระดับมีประมาณ 300-330 กลีบ ภายในกลีบ ประดับขนาดใหญ่ที่บานออกจะมีดอกจนิงขนาดเล็กกลีบดอกสีแดง ซึ่งเป็นดอกสมบูรณ์เพศอยู่ จำนวนมาก ดอกบานเต็มที่จะมีขนาดความกว้างดอกประมาณ 14-16 เซนติเมตร ความยาวช่อ 10-15 เซนติเมตร มีก้านช่อดอกยาว 30-150 เซนติเมตร ลักษณะก้านช่อดอกแข็งตรง ดอก จะออกตลอดปีแต่จะให้ดอกดกที่สุดในช่วงฤดูร้อน คือ เดือนมีนาคม - พฤษภาคม ดอกจะ พัฒนามาจากหน่อดอกที่แทงออกมาจากเหง้าใต้ดินลักษณะของหน่อจะมีสีชมพู ที่ปลายหน่อ

การขยายพันธุ์

ดาหลาสามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้


1. การแยกหน่อ ควรแยกหน่อที่มีความเหมาะสมนำไปปลูกคือ สูงประมาณ 60-100 ซ.ม. ขึ้นไปและมีกิ่งอ่อนกึ่งแก่นประมาณ 4-5 ใบ ใช้มีตัดให้มีเหง้า และรากติดอยู่ด้วย ซึ่งหน่อชนิดนี้จะมีหน่อดอกอ่อน ๆ ติดมาด้วยประมาณ 3 หน่อ นำไปชำในถึงพลาสติก 1 เดือนเพื่อให้หน่อแข็งแรงก่อนปลูก

2. การแยกเหง้า โดยการแยกเหง้าที่เกิดใหม่ที่โคนต้น แล้วนำไปชำในแปลงเพาะชำ วิธีนี้จะใช้เวลาประมาณ 1 ปี จึงจะเริ่มให้ดอก

3. การปักชำหน่อแก่ โดยนำไปชำในแปลงเพาะชำให้แตกหน่อใหม่แข็งแรง แล้วจึงค่อยย้ายมาปลูกลงแปลง



การเตรียมแปลงปลูกดาหลา


พื้นที่ดอน

ทำการพรวน ตากดินไว้ประมาณ 5 - 7 วัน และย่อยดินให้ละเอียดเก็บวัชพืชออกให้หมด
พื้นที่ลุ่ม

ทำการขุดยกร่องสวน มีคูน้ำลึก 1 เมตร กว้าง 1 เมตร แปลงปลูกกว้าง 2-3 เมตร ความยาวตามขนาดของพื้นที่ และมีการไถพรวนตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน เก็บวัชพืชออกให้หมด
การเตรียมดิน

การเตรียมดินโดยไถพรวนดิน แล้วขุดหลุมปลูก จากนั้นใส่ปุ๋ยคอกรองก้นหลุมในกรณีที่ปลูกดาหลาแบบไม่ยกร่องสวน จะทำการไถปรับดินให้สม่ำเสมอ เพิ่มปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีสูตร 20-20-20 ในอัตรา 1 : 25 แล้วขุดหลุมปลูกแบบเดียวกับการปลูกแบบยกร่องสวนนี้อาจปลูกแซมในไม้หลักเช่น ไม้ผล


ระยะปลูก

การปลูกดาหลาจะไม่มีระยะปลูกที่แน่นอน แต่จะขึ้นอยู่กับความต้องการและความสะดวกของเกษตรกรเอง โดยส่วนใหญ่แล้วเกษตรกรจะปลูกในระยะ 2 x 2 เมตร


การปลูก

โดยใช้หน่อที่มีเหง้าและรากติดมาด้วย เหง้าที่ตัดมาควรมีความยาวประมาณ 5 นิ้ว โดยสังเกตุให้หน่อนั้น ๆ มีใบติดมาประมาณ 4 คู่ใบ ปลูกลงในหลุมที่เตรียมไว้ แล้วทำการกลบดินให้สูงประมาณ 6 นิ้ว รดน้ำให้ชุ่ม อาจใช้ดินเลนจากท้องร่องพอกทับโคนต้น เพื่อรักษาความชุ่มชื้น นอกจากนี้ควรหาไม้หลักมาผูกติดกับลำต้นกันต้นโยก


การดูแลรักษาดาหลา

การให้ปุ๋ย

จะให้ปุ๋ยดาหลาประมาณ 2 - 3 เดือนต่อครั้ง ซึ่งจะใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ (16-16-16) ในอัตรา 96 กก./ไร่/ปี และให้ปุ๋ยคอกในอัตรา 15 กก./ต้น/ปี นอกจากนี้อาจใช้อินทรีย์วัสถุที่ผุพังแล้ว เช่น ใบไม้ต่าง ๆ หรือลำต้นแก่ของดาหลา, วัชพืชที่ขึ้นตามท้องร่อง มาเป็นปุ๋ยหมัก หรืออาจใช้ดินเลนจากท้องร่องพูนใส่ตามโค้นต้น ซึ่งดินแลนนี้จะมีอินทรีย์วัตถุสูง


การให้น้ำ

ดาหลาเป็นพืชที่ต้องการน้ำในปริมาณที่มากพอสมควร โดยเฉพาะในระยะเริ่มแรกของการปลูก ควรรดน้ำให้ชุ่ม โดยใช้แครงสาดวันละ 1 ครั้ง เมื่อต้นดาหลาตั้งตัวได้อาจเว้นระยะห่างของการให้น้ำจากวันละครั้งออกไปเป็นประมาณ 2-3 วันต่อครั้ง แต่ต้องคำนึงถึงสภาพอากาศ ถ้าเป็นฤดูร้อนควรเพิ่มการให้น้ำมากขึ้นโดยใช้ระบบการให้น้ำแบบพ่นฝอย (springkler) บนแปลงที่ไม่ยกร่อง


การป้องกันกำจัดวัชพืช

ดาหลาเป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตเร็ว แตกหน่อได้มาก ทำให้กอแน่นใบบังแสงซึ่งกันและกัน การกำจัดวัชพืชจะต้องกระทำมากในช่วงแรกของการปลูก เมื่อดาหลาโตมาก ๆ จะทำให้แสงที่ส่องผ่านมากระทบพื้นดินน้อย วัชพืชไม่สามารถเจริญงอกงามได้ จึงไม่ต้องทำการกำจัดวัชพืชมากนัก


โรคและแมลงยังไม่พบโรคที่เป็นปัญหาสำคัญกับดาหลา แต่มีแมลงสำคัญดังนี้


1. หนอนเจาะลำต้น

ลักษณะการทำลาย เข้าทำลายต้นแก่ โดยไปเจาะบริเวณลำต้น ทำให้ต้นดาหลาหยุดชะงักการเจริญเติบโต และไม่สามารถให้ออกดอกได้

การป้องกันกำจัด ใช้ฟูราดาน 3% โรยบริเวณรอบ ๆ โค้นต้น หรืออาจใช้เซฟวิน

2. มดแดง

ลักษณะการทำลาย กรดจากสิ่งขับถ่ายของมดแดงจะทำให้กีบดอกเกิดรอยขาวเป็นจุด ๆ

การป้องกันกำจัด เก็บรังมดแดงออกจากต้น และใช้ย่าฆ่ามด



การเก็บเกี่ยวดาหลา

ดอกดาหลาที่มีความสมบูรณ์พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้มีอายุประมาณ 2 อาทิตย์ นับตั้งแต่เริ่มแทงหน่อดอก ตัดดอกในช่วงเช้าโดยการตัดก้านดอกให้ยาวชิดโคนต้น แล้วแช่ก้านดอกลงในถังที่มีน้ำบรรจุอยู่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม