ตัวเคลื่อนไหว

JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW JIGSAW

วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2552

สุริยุปราคา

สุริยุปราคา หรือ สุริยคราส เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันโดยมีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง เมื่อสังเกตจากพื้นโลก จะเห็นดวงจันทร์เคลื่อนเข้ามาบดบังดวงอาทิตย์ โดยอาจบดบังแบบเต็มทั้งดวง หรือบดบังบางส่วนก็ได้ ในแต่ละปีจะสามารถสังเกตเห็นสุริยุปราคาบนโลกอย่างน้อย 2 ครั้ง สูงสุดถึง 5 ครั้ง ในจำนวนนี้อาจเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้ 0-2 ครั้ง โอกาสที่จะเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงบนโลกนั้นค่อนข้างน้อย เนื่องจากสุริยุปราคาแต่ละครั้งจะเกิดในบริเวณแคบๆ ที่สอดคล้องพอดีกับเงามืดของดวงจันทร์เท่านั้น
การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงจึงถือเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่พิเศษอย่างยิ่ง ผู้คนจำนวนมากพากันเดินทางไปยังดินแดนอันห่างไกลเพื่อคอยเฝ้าสังเกต สุริยุปราคาเต็มดวงในปี พ.ศ. 2542 ที่ยุโรป ได้ทำให้สาธารณชนหันมาสนใจปรากฏการณ์นี้เพิ่มขึ้นมาก สังเกตได้จากจำนวนการเดินทางของประชาชนที่มุ่งไปเฝ้าสังเกตสุริยุปราคาวงแหวนในปี พ.ศ. 2548 และสุริยุปราคาเต็มดวงในปี พ.ศ. 2549 การเกิดสุริยุปราคาครั้งต่อไปคือ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เป็นการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงสังเกตเห็นได้ที่ประเทศจีน

ประเภท
สุริยุปราคามี 4 ประเภท ได้แก่

สุริยุปราคาเต็มดวง (total eclipse): ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์หมดทั้งดวง
สุริยุปราคาบางส่วน (partial eclipse): มีเพียงบางส่วนของดวงอาทิตย์เท่านั้นที่ถูกบัง
สุริยุปราคาวงแหวน (annular eclipse): ดวงอาทิตย์มีลักษณะเป็นวงแหวน เกิดเมื่อดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งที่ห่างไกลจากโลก ดวงจันทร์จึงปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์
สุริยุปราคาผสม (hybrid eclipse): ความโค้งของโลกทำให้สุริยุปราคาคราวเดียวกันกลายเป็นแบบผสมได้ คือ บางส่วนของโลกเห็นสุริยุปราคาเต็มดวง บางส่วนเห็นสุริยุปราคาวงแหวน บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาเต็มดวง เป็นส่วนที่อยู่ใกล้ดวงจันทร์มากกว่า

สุริยุปราคาอาจจัดเป็นอุปราคาประเภทหนึ่ง เกิดขึ้นเฉพาะในวันที่ดวงจันทร์มีดิถีตรงกับจันทร์ดับ
การที่ขนาดของดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์จะมาปรากฏพอดีกันในการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ถือเป็นเหตุบังเอิญ ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลกประมาณ 400 เท่าของระยะห่างของดวงจันทร์ และเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ก็ใหญกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงจันทร์ประมาณ 400 เท่าเช่นกัน สัดส่วนนี้มีค่าเกือบจะเท่ากัน ทำให้ขนาดของดวงอาทิตย์กับขนาดของดวงจันทร์เมื่อมองจากโลกมีขนาดใกล้เคียงกันมาก คือราว 0.5 องศาเชิงมุม
วงโคจรของดวงจันทร์รอบโลกเป็นวงรี เช่นเดียวกันกับวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ขนาดปรากฏของดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์จึงไม่แน่นอน ความสว่างของคราสเป็นค่าสัดส่วนระหว่างขนาดปรากฏของดวงจันทร์ ต่อขนาดปรากฏของดวงอาทิตย์ระหว่างการเกิดคราส ถ้าคราสเกิดขึ้นระหว่างที่ดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุด (เช่นอยู่ที่ตำแหน่ง perigee) อาจทำให้เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้ เพราะดวงจันทร์จะมีขนาดปรากฏใหญ่มากพอจะบังแผ่นจานดวงอาทิตย์ได้ทั้งหมดรวมถึงโฟโตสเฟียร์ สุริยุปราคาเต็มดวงจะมีค่าความสว่างมากกว่า 1 ในทางกลับกัน การเกิดคราสขณะที่ดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งไกลโลกที่สุด (เช่นอยู่ที่ตำแหน่ง apogee) อาจทำให้เกิดสุริยุปราคาวงแหวนได้ เพราะดวงจันทร์จะมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ สุริยุปราคาวงแหวนจะมีค่าความสว่างน้อยกว่า 1 โดยมากเราจะพบเห็นสุริยุปราคาวงแหวนมากกว่าสุริยุปราคาเต็มดวง เพราะโดยเฉลี่ยแล้วดวงจันทร์จะอยู่ห่างจากโลกมากเกินกว่าจะบดบังดวงอาทิตย์ได้ทั้งหมด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม